เป็นตะคริวบ่อยสัญญาณจากร่างกายที่ไม่ควรมองข้าม

ตะคริวคืออะไร

                ตะคริว คือ ภาวะที่กล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็งอย่างรุนแรงและฉับพลัน โดยที่เราไม่สามารถควบคุมได้ มักเกิดขึ้นในกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนไหว เช่น น่อง ต้นขา เท้า และมือ อาการที่พบคือกล้ามเนื้อจะแน่นแข็ง เจ็บ และขยับได้ยากในช่วงเวลาสั้น ๆ โดยทั่วไปตะคริวสามารถหายไปเองภายในไม่กี่วินาทีถึงไม่กี่นาที แต่ในกรณีที่เกิดบ่อยหรือเป็นซ้ำในตำแหน่งเดิม อาจต้องหาสาเหตุเพิ่มเติมเพื่อป้องกันไม่ให้กลายเป็นปัญหาเรื้อรัง

เป็นตะคริวบ่อยปกติหรือไม่

                การเป็นตะคริวอาจเกิดจากการออกกำลังกายหนักเกินไป หรืออยู่ในท่าทางเดิมนานเกินไป เช่น ยืนนาน หรือนั่งไขว่ห้าง แต่หาก เป็นตะคริวบ่อย แม้ในช่วงเวลาที่ไม่ได้ใช้งานกล้ามเนื้อหนัก ๆ เช่น ขณะนอนหลับ หรือเพียงแค่นั่งพักเฉย ๆ อาจเป็นสัญญาณว่าร่างกายกำลังส่งเสียงเตือนว่าบางอย่างไม่ปกติ

เป็นตะคริวบ่อยเกิดจากอะไร

  • ขาดแร่ธาตุสำคัญในร่างกาย ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่มีบทบาทสำคัญในการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อ เช่น แมกนีเซียม โพแทสเซียม และแคลเซียม
  • การดื่มน้ำน้อย เพราะน้ำจะส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดทำให้กล้ามเนื้อมีโอกาสเกิดตะคริวได้สูงขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ดื่มน้ำน้อยแต่มีการออกกำลังหนักหรือผู้ที่ใช้มัดกล้ามเนื้อหนัก
  • ออกกำลังกายหนักเกินไป เมื่อร่างกายมีการใช้มัดกล้ามที่หนักหน่วงแต่ไม่ได้ออกกำลังกายหรือเหยียดยืดก่อนที่จะออกกำลังกาย ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการหดเกรงอย่างเฉียบพลัน ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นตะคริวบ่อย
  • ท่าทางในการใช้ชีวิตไม่เหมาะสม เช่น การนั่งไขว่ห้างนาน ๆ หรือการนอนในท่าทางที่เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่เพียงพอ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดตะคริว
  • มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะเส้นเลือดตีบปลายแขนขา เบาหวาน โรคไตเรื้อรัง หรือโรคไทรอยด์ มักเกิดตะคริวได้บ่อยกว่าคนทั่วไป
  • อายุมากขึ้น เพราะเมื่ออายุมากขึ้นกล้ามเนื้อจะสูญเสียความยืดหยุ่น ทำให้เป็นตะคริวได้ง่าย

วิธีป้องกันเป็นตะคริวบ่อย

  • ดื่มน้ำให้เพียงพ่อที่ร่างกายต้องการต่อวัน 6 – 8 แก้ว
  • เสริมแร่ธาตุที่จำเป็นในการควบคุมการหดเกรงของกล้ามเนื้อ อย่างแร่ธาตุแมกนีเซียม โพแทสเซียม แคลเซียม
  • ควรยืดกล้ามเนื้อก่อนและหลังออกกำลังกายอย่างเป็นประจำ เพื่อไม่ให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้ออยางเฉียบพลัน
  • ควรเลือกท่าทางในการใช้ชีวิตให้เหมาะสม อย่านั่งไขว้ห้างนานจนเกินไป ฟลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบ หรือการนั่งท่าเดิมนาน ๆ ควรสลับลุกเดินบ้างเพื่อให้กล้ามเนื้อได้เหยียดยืด
  • ออกกำลังกายอย่างเป็นประจำสม่ำเสมอ

วิธีรักษาเมื่อเกิดตะคริว

1. ยืดกล้ามเนื้อบริเวณที่เป็นตะคริวอย่างช้า ๆ

2. นวดเบา ๆ ตามแนวกล้ามเนื้อ

3. ประคบร้อนหรือใช้น้ำอุ่นช่วยคลายเกร็ง

4. ในกรณีที่เจ็บมากหรือเกิดบ่อย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ

สรุป

                อาการเป็นตะคริวบ่อย อาจดูเหมือนเรื่องธรรมดา แต่หากปล่อยไว้นานโดยไม่ใส่ใจ อาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติบางอย่างในร่างกาย ควรใส่ใจพฤติกรรมประจำวัน การดื่มน้ำให้เพียงพอ การกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และการยืดกล้ามเนื้อเป็นประจำ อาจช่วยให้คุณห่างไกลจากปัญหานี้ได้ในระยะยาว